วันอาทิตย์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2561

ครั้งที่ 8
วันที่ 7 มีนาคม 2561



บรรยากาศในห้องเรียน
เริ่มจากการนำเสนอคำคมดังเช่นทุกอาทิตย์


 หากมีคนทำผิดแล้วเราไม่เห็นด้วยเราไม่ควรซ้ำเติมเพราะเขาอาจจะไม่มีทางเลือกควรที่จะให้กำลังใจมากกว่าซ้ำเติม


การเป็นผู้นำไม่ใช่อยากจะสั่งเห็นคนอื่นเป็นผู้ตามเรานำอย่างเดียวแต่เพียงแค่เราทำตัวให้เคราพนับถือไว้ใจ ผู้อื่นก็อยากตามเราด้วยความยินดี


หากเรารักในสิ่งที่เราทำจงทำไม่ใช่ฟังคนอื่น



พอนำเสนอคำคมเสร็จก็นำเสนอวิจัย

งานวิจัย
 เรื่อง การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่

การศึกษาระดับ  ประถมศึกษา 

มหาวิทยาลัย  หาดใหญ่

ผู้วิจัย  ลดารัตน์  ศศิธร

ปีการศึกษา  2558

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย

ประเด็นที่ 1

  กระทรวงศึกษาธิการมุ่งเน้นพัฒนาการศึกษาและสร้างโอกาสให้คนไทยมีการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับการศึกษาโดยกำหนดเป้าหมายการศึกษาอย่างชัดเจน ที่จะทำให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนเพื่อให้เป็นคนที่มีคุณภาพ  มีความพร้อมทั้งทางร่างกาย จิตใจ  สติปัญญามีจิตสำนึกของความเป็นไทย  และตระหนักรู้ถึงขนบธรรมเนียม  ประเพณีไทย  และตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาประเทศ


ประเด็นที่  2  

  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับขั้นพื้นฐานให้มีมาตรฐานตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ.2545 ในมาตรา 4 ซึ่งกำหนดว่า “มาตรฐานการศึกษา” หมายถึง ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับการส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2555, น.1-4) ในปีพ.ศ.2554 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนในสังกัดจำนวน 31,116 โรงเรียน จำแนกขนาดของโรงเรียนตามจำนวนนักเรียน เป็น 4 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 120 คนลงมา ขนาดกลาง มีจำนวนนักเรียน ตั้งแต่ 121 ถึง 600 คน ขนาดใหญ่ มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 601 ถึง 1,500 และขนาดใหญ่พิเศษ มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 1,501 คนขึ้นไป

ประเด็นที่  3

  จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(2554,น.1-5) พบว่าคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กส่วนมากขาดประสิทธิภาพ และมีคุณภาพค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ ปัญหาด้านกานลงทุนการศึกษาพบว่าการลงทุนการศึกษากับผลตอบแทนที่โรงเรียนขนาดเล็กจะได้รับไม่คุ้มเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่ส่วนปัญหาด้านการลงทุนพบว่าการลงทุน,การศึกษากับผลตอบแทนโรงเรียนขนาดเล็กได้รับไม่คุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนขนาดเล็กขาดปัจจัยต่างๆมากถ้าหากโรงเรียนเหล่านี้มีความพร้อมด้านบุคลากรงบประมาณสื่อวัสดุอุปกรณ์ต่างมาส่งเสริมสนับสนุนในการบริหารจัดการโรงเรียนให้ได้ตามมาตรฐาน  หลักสูตรกำหนดการลงทุนต้องสูงมากและไม่คุ้มกับการลงทุนในด้านขวัญและกำลังใจจากบุคลากรพบว่าขวัญขวัญและกำลังใจในโรงเรียนขนาดเล็กนั้นด้อยกว่าโรงเรียนขนาดกลางพลังในการคิดร่วมทำงานร่วมกันมีน้อยขาดความพร้อมในการปฎิบัติ

ประเด็นที่  4

  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากระบี่ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโรงเรียนทั้งหมด 45.78 (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่,2557) ประสบปัญหากาจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกับโรงเรียนขนาดเล็กจึงได้นำนโยบายดังกล่าวมาจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน 3รูปแบบ คือ 1) โรงเรียนร่วมทุกระดับชั้นมีจำนวน 21 โรง 2) โรงเรียนร่วมบางระดับชั้น มีจำนวน 6 โรง 3) โรงเรียนสอนตามปกติมีจำนวน 6 โรง พบว่าข้อมูลยังไม่ชัดเจนในการบริหารการเงิน พัสดุและทรัพย์สินและไม่ครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จึงเป็นปัญหาที่ต้องเร่งดำเนินการ จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ตามกรอบบริหารและการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ ศ. 2542

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1.ด้านความรู้
ทำให้ทราบความคิดเห็นของผู้บริหารการศึกษา  ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ต่อการบริหารการจัดการขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษากระบี่

-ทำให้ทราบถึงความพึงพอใจของ ผู้บริหารการศึกษา  ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและนักเรียน ต่อการบริหารการจัดการขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษากระบี่ 

2.ด้านการนำไปใช้
สามารถนำข้อมูลที่ได้เสนอแนะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้แก้ไขปัญหาหรือเป็นแนวทางประกอบการพิจารณาคุณภาพโรงเรียนที่ดำเนินงานจัดการเรียนร่วมสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่


ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น /ตัวจัดกระทำ

ตัวแปรอิสระ คือข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถาม ประกอบด้วย

1.ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน

-ประสบการณ์ในการบริหารงานในสถานศึกษา

-ลักษณะของโรงเรียน

2.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

-ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา , ลักษณะของโรงเรียน

3.ผู้ปกครองนักเรียน

-ความสัมพันธ์กับนักเรียน,อายุ,เพศ,วุฒิการศึกษา,ลักษณะของโรงเรียน

4.นักเรียน

-เพศ

-ระดับชั้น

-ลักษณะของโรงเรียน

 ตัวแปรตาม

1.การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ตามภารกิจ 4 ด้าน ได้แก่

-ด้านการบริหารจัดการทั่วไป

-ด้านการบริหารงานการเงิน พัสดุ และทรัพย์สิน

-ด้านการบริหารงานบุคคล

-ด้านการบริหารงานวิชาการ


  2.ความพึงพอใจในการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา


สมมุติฐานการวิจัย
ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้สอน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีตำแหน่ง  ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานในสถานศึกษาและลักษณะของโรงเรียนต่างกัน  มีความคิดเห็นต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่แตกต่างกัน



วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร

ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน143 คน คณะกรรมการสถานศึกษา ครูผู้สอน จำนวน143 คน คณะกรรมการสถานศึกษาครูผู้สอน จำนวน143 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานไม่รวมครูและผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน126คน ผู้ปกครอง  จำนวน1,125คนและนักเรียนของโรงเรียนร่วมสังกัด 18 โรง จำนวน 405 คน รวมทั้งสิ้น 1,799 คน (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่,2017)

  กลุ่มตัวอย่าง

จำนวน317 คน สุ่มแบ่งชั้นโดยใช้ลักษณะของโรงเรียนเป็นตัวแบ่งชั้น แล้วจึงเลือกแบบเจาะจง

  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

แบบสอบถามจำนวน 3 ชุด

ชุดที่ 1 แบบสอบถามผู้บริหาร สถานศึกษา ครูผู้สอนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ชุดที่ 2 แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียนต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็กโดยการจัดการเรียนร่วม

ชุดที่3 แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก โดยการจัดการเรียนร่วม


สรุปผลการวิจัย

ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูผู้สอน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความคิดเห็นต่อการ

บริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก  โดยการจัดการเรียนร่วมในภาพรวมและหลายด้านอยู่ในระดับ

ปานกลาง  และเมื่อพิจารณารายข้อในด้านการบริหารจัดการทั่วไป  พบว่าผู้บริหารจัดการ

ศึกษา ครูผู้สอน  และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  มีความคิดเห็นว่าในการบริหาร

จัดการเรียนร่วมได้มีการดำเนินงานเรื่องการเดินทางไปเรียนร่วมกับนักเรียนและ  สามารถดำเนิน

การได้ตามแนวปฎิบัติและครอบคลุมนักเรียนทุกคนอย่างสูงสุดเท่ากัน



การประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาความรู้ที่ได้เกี่ยวกับงานวิจัยไปเป็นตัวอย่างการค้นคว้าของมูลได้

การประเมินผล
ประเมินเพื่อน
เพื่อนๆมีการเตรียมตัวมาพร้อมในการนำเสนอ

ประเมินตนเอง
มีความพร้อมและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย

ประเมินอาจารย์ 
อาจารย์มีการแนะนำและอธิบายเพิ่มเติม











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น